เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสพฐ.

เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสพฐ.

เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสพฐ.

เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสพฐ. เพื่อให้สถานศึกษา มีอัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่เหมาะสม สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา คืนครูสู่ห้องเรียน เป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ

ดาว์โหลดไฟล์ PDF

ที่ ศธ ๐๒๐๖.๖/ว๒๓

เรื่อง เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เรียน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาธิการจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

อ้างถึง ๑. หนังสือสำนักงาน ก.ค. ที่ ศธ๑๓๐๕/๔๖๖ ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๕

๒. หนังสือสำนักงาน ก.ค. ที่ ศธ๑๓๐๕/๔๖๗ ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๕

๓. หนังสือสำนักงาน ก.ค. ที่ ศธ๑๓๐๕/๘๒๒ ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๕

๔. หนังสือสำนักงาน ก.ค. ที่ ศธ๑๓๐๕/๘๒๓ ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๕

สิ่งที่ส่งมาด้วย เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตามหนังสือที่อ้างถึง ๑-๔ สำนักงาน ก.ค. ได้แจ้งเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา ให้ทราบ และถือปฏิบัติ นั้น

ก.ค.ศ. พิจารณาแล้ว มีมติดังนี้

๑.ให้ยกเลิกเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครู ในสถานศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา ที่อ้างถึง ๑-๔

๒. กำหนดเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยให้ใช้บังคับนับแต่นี้เป็นต้นไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติ

เกณฑ์อัตรากำลังครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาในสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(ส่งพร้อม หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ ๐๒๐๖.๖/ว๒๓ ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๓)

เพื่อให้สถานศึกษามีอัตรากำลังข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่เหมาะสม สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา คือครูสู่ห้องเรียน เป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙(๒) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.ค.ศ. จึงกำหนดเกณฑ์อัตรากำลังของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๑. เกณฑ์อัตรากำลังนี้ใช้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยกเว้น สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย โดยให้สถานศึกษามีอัตรากำลังตามสายงาน ได้แก่ สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานการสอน และสายงานสนับสนุนการศึกษา ซึ่งกำหนดเป็น ๒ กรณี ดังนี้

๑.๑ สถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียน ตั้งแต่ ๑๙๙ คน ลงมา

๑.๒ สถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียน ตั้งแต่ ๑๒๐ คน ขึ้นไป

๒. กลุ่มสถานศึกษา หมายถึง สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบรวมสถานศึกษา ตั้งแต่ ๒ แห่งขึ้นไป ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด

๓. ชั่วโมงการปฏิบัติงานของครู จำแนกเป็น

๓.๑ ชั่วโมงสอน ตามตารางสอน ระดับปฐมวัย ไม่ต่ำกว่า ๖ ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์ ระดับประถมศึกษา ไม่ต่ำกว่า ๑๒ ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์ และ ระดับมัธยมศึกษา ไม่ต่ำกว่า ๑๒ ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์

๓.๒ งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และงานตอบสนองนโยบายและจุดเน้นของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการต้นสังกัด ไม่ต่ำกว่า ๘ ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์

ทั้งนี้ การคำนวณอัตรากำลังตามเกณฑ์อัตรากำลังนี้ กำหนดชั่วโมงปฏิบัติงานของครูเท่ากับ ๒๐ ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์

๔. การกำหนดสาขาวิชาเอกในสถานศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาเอก

๕. จำนวนนักเรียน ต่อ ห้องเรียน พิจารณาตามระดับการศึกษาที่เปิดสอน ดังนี้

๕.๑ ระดับปฐมวัย (ชั้นอนุบาล ๑-๓) กำหนด ๓๐ คน ต่อ ห้อง

๕.๒ ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖) กำหนด ๓๐ คน ต่อ ห้อง

๕.๓ ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓) กำหนด ๓๕ คน ต่อ ห้อง

๕.๔ ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖) กำหนด ๓๕ คน ต่อ ห้อง

การคิดจำนวนห้องเรียน กรณีจำนวนนักเรียนแต่ละชั้นเรียน มีเศษตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป ให้คิดเพิ่มอีก ๑ ห้อง เช่น ชั้นอนุบาล ๑ มีนักเรียน ๓๘ คน (มีเศษ ๘ คน) จะคิดเป็น ๑ ห้อง และชั้นอนุบาล ๒ มีนักเรียน ๔๕ คน (มีเศษ ๑๕ คน) จะคิดเป็น ๒ ห้อง รวมจำนวนห้องที่จะนำไปคำนวณอัตรากำลัง ระดับปฐมวัย จำนวน ๓ ห้อง อ่านต่อได้ที่นี่ …

ข่าวการศึกษา โดย ครูมาแล้ว เพื่อให้คุณครูทันทุกข่าวสาร ทั้งอบรมออนไลน์ แบบทดสอบออนไลน์ การเลื่อนวิทยฐานะ ข่าวการสอบบรรจุครูผู้ช่วย การสอบโอเน็ต และข่าวสารอื่นๆในแวดวงการศึกษาไทย


Related Posts

error: