ก.ค.ศ. ปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ 16 ปี ขึ้นวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ

ก.ค.ศ. ปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ 16 ปี ขึ้นวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ

ก.ค.ศ. ปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ 16 ปี ขึ้นวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ

ก.ค.ศ. ปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ 16 ปี ขึ้นวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ก.ค.ศ. ปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะเป็นของขวัญปีใหม่ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้

สาระสำคัญที่ปรับในมาตรฐาน ตำแหน่ง “ครู”

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

  1. ด้านการจัดการเรียนรู้
  2. ด้านการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
  3. ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ

สาระสำคัญที่ปรับในมาตรฐาน ตำแหน่ง “ศึกษานิเทศก์”

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

  1. ด้านการนิเทศการศึกษา
  2. ด้านการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา
  3. ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ

สาระสำคัญที่ปรับในมาตรฐาน ตำแหน่ง “รองผู้อำนวยการสถานศึกษา” ตำแหน่ง “ผู้อำนวยการสถานศึกษา”

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

  1. ด้านการบริหารวิชาการ และความเป็นผู้นำทางวิชาการ
  2. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
  3. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ และนวัตกรรม
  4. ด้านการบริหารงานชุมชน และเครือข่าย
  5. ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ

สาระสำคัญที่ปรับในมาตรฐาน ตำแหน่ง “รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา” ตำแหน่ง “ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา”

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

  1. ด้านการบริหารวิชาการ และความเป็นผู้นำทางวิชาการ
  2. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
  3. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ และนวัตกรรม
  4. ด้านการบริหารงานชุมชน และเครือข่าย
  5. ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ

สาระสำคัญที่ปรับในมาตรฐานวิทยฐานะ

โดยแบ่งการปฏิบัติงานออกเป็น 6 ระดับ ซึ่งมีคำอธิบายระดับคุณภาพ ดังนี้

  1. ระดับ ครูผู้ช่วย ต้องสามารถปฏิบัติงานและเรียนรู้ (Execute and Learn) จากการปฏิบัติได้ตามมาตรฐานตำแหน่ง และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
  2. ระดับ ครู ต้องสามารถปรับประยุกต์ (Apply and Adapt) การจัดการเรียนรู้ และปฏบัติงานจนปรากฏผลลัพธ์กับผู้เรียนได้ตามมาตรฐานตำแหน่ง และต้องปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
  3. ระดับ ครูชำนาญการ ต้องสามารถแก้ไขปัญหา (Solve the problem) คุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
  4. ระดับ ครูชำนาญการพิเศษ ต้องสามารถริเริ่ม พัฒนา (Originate and Improve) คุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน จนปรากฏผลเชิงประจักษ์ และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
  5. ระดับ ครูเชี่ยวชาญ ต้องสามารถคิดค้น ปรับเปลี่ยน (Invent and Tranform) พัฒนานวัตกรรมและปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ จนทำให้คุณภาพผู้เรียนสูงขึ้น และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดี และให้คำปรึกษาผู้อื่น
  6. ระดับ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง (Create an Impact) สามารถคิดค้น พัฒนานวัตกรรม เผยแพร่ และขยายจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดี ให้คำปรึกษาผู้อื่น และเป็นผู้นำในวิชาชีพ

แผนภูมิเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพครูและบุคคลากรทางการศึกษา ตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ เดิม กับ ใหม่

แผนภูมิเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพ (Career Path) กรณีเปลี่ยนสายงาน

ดูต่อได้ที่นี่

ระบบการประเมินวิทยฐานะใหม่จะประกาศใช้วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาท่านใด ที่จะเสนอวิทยฐานะเกณฑ์เดิมก็สามารถทำได้ แต่เมื่อมีการประกาศใช้เกณฑ์วิทยฐานะใหม่ เกณฑ์วิทยฐานะใหม่ก็จะเข้ามาแทนระบบเดิมทันที สำหรับสายผู้สอน ที่ใช้เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ (ว 21) การนับระยะเวลาจะไม่เสียไป จะสามารถนับต่อได้และจะมีผลดี คือเมื่อครบเวลา 4 ปี จะมีสิทธิในการยื่นวิทยฐานะ

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ข่าวการศึกษา โดย ครูมาแล้ว เพื่อให้คุณครูทันทุกข่าวสาร ทั้งอบรมออนไลน์ แบบทดสอบออนไลน์ การเลื่อนวิทยฐานะ ข่าวการสอบบรรจุครูผู้ช่วย การสอบโอเน็ต และข่าวสารอื่นๆในแวดวงการศึกษาไทย


Related Posts

error: