ครม.เห็นชอบแผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ปี 2565 วงเงิน 6.5 พันล้านบาท

ครม.เห็นชอบแผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ปี 2565 วงเงิน 6.5 พันล้านบาท

ครม.เห็นชอบแผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ปี 2565 วงเงิน 6.5 พันล้านบาท

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 เห็นชอบแผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ในกรอบวงเงิน 6,556.8649 ล้านบาท

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภายในกรอบวงเงิน 6,556.8649 ล้านบาท ตามนัยมาตรา 6 (3) ของพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561

โดยให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนของกฎหมายวิธีการงบประมาณ ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณารายละเอียดของแผนงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของ กสศ. ให้สอดคล้องกับแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามความจำเป็นและเหมาะสม ภายในกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อีกครั้งหนึ่ง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

ทั้งนี้ เห็นควรที่ กสศ. คงอัตราเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษในอัตราเท่าเดิมไปก่อน โดยการทบทวนปรับปรุงกระบวนการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในการจ่ายเงินอุดหนุนให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพการดำเนินการตามภารกิจของ กสศ. เพื่อเป็นต้นแบบและส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันขับเคลื่อนสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

แผนการใช้เงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

  1. แผนงาน 1 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประกอบด้วย
    1. นวัตกรรมระบบเทคโนโลยีและระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เช่น พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายของ กสศ. (เด็กยากจนเด็กนอกระบบ เด็กพิการ เด็กกำพร้า แม่วัยรุ่น)
    2. วิจัยเชิงระบบและการประเมินผล เช่น วิจัยเพื่อขยายผลนวัตกรรมต้นแบบการแก้ไขและป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาของผู้ด้อยโอกาสซ้ำซ้อน
    3. พัฒนาเครือข่ายการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เช่น สัมมนาวิชาการระดับชาติ -นานาชาติ การพัฒนาเครือข่ายนักวิจัย/องค์กรวิชาการ ระดับชาติ-นานาชาติ
  2. แผนงาน 2 ส่งเสริมโอกาสและพัฒนาคุณภาพนักเรียน ประกอบด้วย
    1. ส่งเสริมโอกาสและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น การจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข (นร. ทุนเสมอภาค) ให้แก่ นักเรียนระดับอนุบาล-ม.3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนพระปริยัติธรรม และกลุ่มโรงเรียนเอกชน เฉพาะโรงเรียนการกุศลที่ขาดแคลนทุนทรัพย์/ด้อยโอกาส โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือจะต้องมาเรียนสูงกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในภาคเรียนนั้น ๆ เพื่อป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษา
  3. แผนงาน 3 สร้างนวัตกรรมการพัฒนาครูและสถานศึกษา ประกอบด้วย
    1. พัฒนาครูทั้งในและนอกระบบการศึกษา เช่น สร้างต้นแบบการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ ผ่านโครงการพัฒนาตนเอง โดยทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนในพื้นที่ เพื่อเรียนรู้ร่วมกันผ่านปฏิบัติการจริงที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น
    2. พัฒนาโรงเรียนและสถานศึกษา เช่น ศึกษาวิจัยองค์ความรู้และถอดบทเรียนโครงการพัฒนาครูและโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
  4. แผนงาน 4 พัฒนากลไกจังหวัดและระบบช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่ยากจนและเด็กนอกระบบการศึกษา เช่น พัฒนากลไกจังหวัด โดยคณะทำงานจังหวัดจัดเวทีเพื่อสร้างภาคีความร่วมมือระดับพื้นที่และจังหวัด/จัดประชุมเพื่อจัดตั้งกลไกระดับพื้นที่ (อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน)
  5. แผนงาน 5 สร้างต้นแบบระบบการผลิตและพัฒนาครู ประกอบด้วย
    1. สร้างครูรุ่นใหม่สำหรับพื้นที่ห่างไกล เช่น สนับสนุนงบประมาณสำหรับนักศึกษาผู้รับทุน จำนวน 328 คน ผ่านสถาบันผลิตและพัฒนาครูในโครงการครูรักษ์ถิ่น
  6. แผนงาน 6 สร้างนวัตกรรมสายอาชีพสร้างโอกาสนักเรียนอัจฉริยะที่มีฐานะยากจนหรือด้อยโอกาสได้เรียนต่อระดับสูง และพัฒนาประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส ประกอบด้วย
    1. สร้างนวัตกรสายอาชีพและสร้างโอกาสนักเรียนอัจฉริยะที่มีฐานะยากจนหรือด้อยโอกาสได้เรียนต่อระดับสูง (ป.ตรี – ป.เอก) “ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ” เช่น ส่งเสริมการสร้างโอกาสทางการศึกษาด้านสายอาชีพ ปวส./อนุปริญญา มีทุนใหม่ (รุ่น 4) จำนวน 2,500 ทุน
    2. พัฒนาประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส เช่น โครงการพัฒนาทักษะอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน/พัฒนานวัตกรรมโมเดลทางธุรกิจระดับชุมชน กลุ่มเป้าหมาย 10,000 คน
  7. แผนงาน 7 สร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติและวิเทศสัมพันธ์ เช่น จัดประชุมเครือข่ายองค์กรนานาชาติ/จัดการความรู้และขับเคลื่อนความรู้ด้านต่างประเทศ
  8. แผนงาน 8 งานรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และระดมความร่วมมือทางสังคม เช่น พัฒนาและสร้างเครือข่ายจังหวัดสื่อสารรณรงค์ขับเคลื่อนวาระความเสมอภาคทางการศึกษา/พัฒนาเครือข่ายครู อาสาสมัครทางการศึกษา
  9. แผนงาน 9 บริหารและพัฒนาระบบงาน ประกอบด้วย
    1. สร้างเสริมระบบหุ้นส่วนธรรมาภิบาลกับภาคี เช่น การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลและการป้องกันการทุจริต (เช่น จัดทำ/ปรับปรุงโครงสร้าง กฎระเบียบ เครื่องมือ คู่มือ จรรยาบรรณ และแนวทางปฏิบัติ ที่เหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาลฯ พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบริหารหรือสนับสนุนการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลฯ)
    2. บริหารและพัฒนาระบบงาน เช่น งานบุคลากร/สวัสดิการ/การพัฒนาความรู้และการฝึกอบรมต่อเนื่อง งานอำนวยการ ค่าใช้สอยสำนักงาน
    3. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น งานบุคลากร/สวัสดิการ/การพัฒนาความรู้และการฝึกอบรมต่อเนื่อง งานอำนวยการ ค่าใช้สอยสำนักงาน

อัตราเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (ทุนเสมอภาค) ยังคงอัตราเดิม ดังนี้

ระดับการศึกษาอัตราเดิม (บาท/ปี)
อนุบาล4,000
ประถมศึกษา3,000
มัธยมศึกษาตอนต้น3,000
มัธยมศึกษาตอนปลาย/อาชีวศึกษา3,000

ที่มา : https://moe360.blog/

ข่าวการศึกษา โดย ครูมาแล้ว เพื่อให้คุณครูทันทุกข่าวสาร ทั้งอบรมออนไลน์ แบบทดสอบออนไลน์ การเลื่อนวิทยฐานะ ข่าวการสอบบรรจุครูผู้ช่วย การสอบโอเน็ต และข่าวสารอื่นๆในแวดวงการศึกษาไทย


โพสก์ที่เกี่ยวข้อง

error: